วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

SBA: บทที่ 10 พฤติกรรมสัตว์ (Animal Behavior)


SBA: บทที่ 7 การเคลื่อนที่ของสัตว์


โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน


      อากาศเข้าสู่ปอดโดยเริ่มเข้าที่ช่องจมูก  แล้วเข้าสู่บริเวณโพรงจมูกซึ่งมีเยื่อบุผิวที่มีซิเลียและเมือกสำหรับดักจับสิ่งสกปรกไว้  อากาศจะเคลื่อนที่ต่อไปยังคอหอยลงสู่กล่องเสียง  ซึ่งภายในมี  สายเสียง (vocal cord)  จากนั้นอากาศจึงเข้าสู่หลอดลม  ปลายสุดของหลอดลมแยกออกเป็นขั้วปอดแยกไปสู่ปอดซ้ายและขวาทั้ง  2  ข้างซึ่งจะแตกแขนงเล็กลงเรื่อยๆ  เรียกว่า  หลอดลมฝอย (bronchiole)   ผนังของหลอดลมฝอยจะบางลงตามลำดับ   ปลายสุดของหลอดสมฝอยเป็นถุงขนาดเล็ก   และหลอดลมฝอยส่วนต้นประกอบด้วยกระดูกอ่อน   เพื่อป้องกันการแฟบจากแรงกดของเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ   ดังภาพที่ 6-8
ภาพที่ 6-8  ก.  ส่วนต่างๆของทางเดินหายใจ ข.ถุงลม
              ผนัง ด้านในของหลอดลมบุด้วยเซลล์บุผิวที่มีซิเลียและเซลล์ซึ่งทำหน้าที่สร้าง เมือกเพื่อคอยดักจับสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าไปถึงถุงลม   เมื่ออากาศเข้าสู่ถุงลมซึ่งมีหลอดเลือดฝอยห่อหุ้มอยู่โดยรอบบริเวณนี้จะมี การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นเป็นตำแหน่งแรก  โดยแก๊สออกซิเจนจากถุงลมจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอย  และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากหลอดเลือดฝอยจะแพร่เข้าสู่ถุงลม   
การสูดลมหายใจ
              เพื่อรักษาดุลยภาพของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจนในร่างกายคน  จึงมีการสูดลมหายใจเข้าและลมหายใจออกตลอดเวลา  แสดงว่าความดันของอากาศภายในปอดมีการเปลี่ยนแปลง  ในการหายใจเข้าและการหายใจออกเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันของอากาศภายในปอด  โดยการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อกะบังลม  และกล้ามเนื้อที่ยึดกระดูกซี่โครงแถบนอก  ดังภาพที่ 6-9 ขณะที่กล้ามเนื้อหน้าท้องคลายตัว  ทำให้อากาศภายในช่องท้องลดความดันลงพร้อมๆ  กับกล้ามเนื้อหะบังลมหดตัว  กะบังลมจะเคลื่อนต่ำลง  ขณะที่กล้ามเนื้อของกระดูกซี่โครงแถบนอกหดตัว  กระดูกซี่โครงยกสูงขึ้น   ปริมาตรในช่องออกเพิ่มขึ้น  ปอดที่มีเนื้อเยื่อยืดหยุ่นได้ก็จะขยายมากขึ้น  ความดันของอากาศภายในปอดลดลง  อากาศภายนอกจะไหลเข้าสู่ปอด  ทำให้เกิดการหายใจเข้า   ดังภาพที่ 6-9 ก.  และเมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องหดตัว  ทำให้อากาศภายในช่องท้องมีความดันมากขึ้นพร้อมๆ  กับกล้ามเนื้อกะบังลมคลายตัว  กะบังลมโค้งขึ้น  หรือเคลื่อนที่ขึ้นด้านบนมากขึ้น  ในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อแถบนอกของกระดูกซี่โครงคลายตัว  ทำให้กระดูกซี่โครงลดต่ำลง  ปริมาตรของอากาศภายในช่องอกลดลง  ส่งผลให้ปริมาตรของอากาศในปอดลดลง  ความดันอากาศในปอดจะมีมากกว่าความดันอากาศภายนอก  อากาศจะเคลื่อนจากปอดสู่ภายนอก  ทำให้เกิดการหายใจออก  ดังภาพที่ 6-9 ข.อ่านต่อ
ภาพที่ 6-9  การเปลี่ยนแปลงปริมาตรของทรวงอกขณะหายใจเข้าและหายใจออก
ก.  หายใจเข้า  , ข .หายใจออก